ปัจจุบันโลกของเราเรียกได้ว่าเป็นโลกไร้พรมแดนโดยสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้อย่างสะดวก ความท้าทายที่เกิดขึ้นคือ จะทำอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา?
การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่พัฒนาคนเท่าทันทั้งความรู้และทักษะ เพื่อพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในอนาคตต่อไป องค์การศึกษาและวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาติ (UNESCO) (วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล,2557, น.1-2) ได้ประกาศเป้าหมายของคนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นทิศทางในการจัดการศึกษาให้กับประเทศต่างๆ นำไปใช้ในการวางแผนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เท่าทันโลกในปัจจุบัน
เมื่อการเรียนไม่ได้มีแค่ท่องจำ
สตรีมศึกษา หรือ STEAM Education เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) ศิลปะ (Arts) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics) เข้าด้วยกัน โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆในการดำเนินชีวิต
โดยมีปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วน
การนำเสนอสถานการณ์ (Presentation Situation) เป็นการนำเสนอบริบทที่เชื่อมโยงกับชีวิตหรือสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหา และให้มีข้อมูลพื้นฐานสำหรับการคิดในขั้นต่อไป
การออกแบบอย่างสร้างสรรค์ (Creative Design) เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างอิสระ โดยเน้นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารผ่านกิจกรรม โดยก่อนที่ผู้เรียนจะออกแบบได้นั้น ต้องทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าในสถานการณ์ดังกล่าว และค้นหาการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
การสร้างความจับใจ (Emotional Touch) เป็นการขยายขอบเขตของสิ่งที่ค้นพบและเน้นกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา สร้างแรงจูงใจเมื่อแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ต่อไป
.
สรุปง่ายๆคือ การที่เราให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริงผ่านโปรเจค ทำให้เขาได้ต่อยอดพัฒนา ตั้งคำถาม แก้ไขปัญหา และ ทำงานเป็นทีม ทำให้เด็กๆสนุกไปกับบทเรียนแบบไม่ต้องท่องจำ STEAM Education สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-5 ปี) พัฒนาไปเรื่อยๆตามวัยของผู้เรียนและความยากของตัวโปรเจค
ตัวอย่างการเรียนแบบ STEAM Education @ Beyond Code Academy
Creative Coding Adventure Chapter 1 (7 + years)
ได้เรียนรู้ภาษา Scratch หรือ Block-Based Programming ซึ่งเป็นภาษาที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้สอน Coding สำหรับเด็กโดยเฉพาะ เด็กๆจะได้ฝึกเขียนโค้ดด้วยวิธีลากบล็อกมาวาง (Drag and Drop) ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลถึงอุปสรรคการใช้ Keyboard ที่ในช่วงวัยนี้อาจจะยังไม่ถนัด หลังจากที่เชี่ยวชาญภาษา Scratch แล้ว เด็กๆสามารถสร้างเกมส์เล่นกับเพื่อน สร้าง Animation เล่าเรื่อง เสริมสร้างจินตนาการผ่านการเรียน Coding
ผ่านทักษะที่สำคัญคือ
เข้าใจพื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Coding) เช่น Sequence, Fundamental Coding Blocks, Logic Structure
พัฒนาทักษะพื้นฐานการคำนวณ(Numeracy Skills) และ ทักษะการเขียน การอ่าน (Literacy Skills)
พัฒนาจินตนาการ (Creative Thinking Skills)
สนใจสมัครเรียนหรือขอคำปรึกษา ติดต่อเราได้ที่
Facebook Inbox
โทร: 09-9414-9777
Line: @beyondcode (https://lin.ee/yYW32sz)
อ้างอิง
Comments