หลายๆครอบครัวอาจเกิดปัญหาเรียนออนไลน์แล้วลูกๆไม่เข้าใจ พอถามก็ไม่ทราบว่าลูกไม่เข้าใจตรงไหน วันนี้ beyond code academy ได้นำเครื่องมือมาช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เช็คความเข้าใจน้องๆในช่วงเรียนออนไลน์แบบนี้ให้มีประสิทธิภาพมาฝากค่ะ
Solo Taxonomy คืออะไร
Solo taxonomy คือการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยไม่ได้วัดแค่เฉพาะการสอนหรือคะแนนจากผลงาน แต่ให้ความสำคัญไปที่กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดที่ซับซ้อนและพัฒนามากขึ้นไปทีละระดับ การประเมินการเรียนรู้วิธีนี้เป็นหนึ่งในผลงานของ Biggs และ Collins (1982) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาช่วยอธิบายว่าผู้เรียนนั้นมีพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นอย่างไรบ้าง โดยจะเน้นให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ปฎิบัติได้จริง
การใช้ Solo Taxonomy
การใช้ Solo taxonomya จะช่วยให้คุณครูเข้าใจหลักสูตรที่จะสอนชัดเจนมากขึ้น และ ผู้เรียนจะเข้าใจในเนื้อหาที่คุณครูสอนได้ชัดเจนขึ้นด้วย โดยแนวคิด Solo Taxonomy ได้นำถูกนำไปเป็นเกณฑ์ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่งอีกด้วย สาเหตุที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากว่า แบบประเมินชุดนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายวิชาและสามารถประเมินในด้านของความเข้าใจของผู้เรียนในระดับที่ซับซ้อนได้ โดยประเมินระดับความซับซ้อนของความเข้าใจเป็น 5 ระดับ ได้แก่ Prestructural (โครงสร้างพื้นฐาน) Unistructural (เข้าใจมุมเดียว) Multistructural (หลายมุมมอง) Relational (เห็นความสัมพันธ์) และ Extended abstract (ขยายความจากนามธรรม)
สรุปง่ายๆได้ว่า "Solo Taxonomy" คือ แนวคิดที่จะอธิบายระดับความเข้าใจ (levels of understanding) ต่อสิ่งที่กำลังเรียนรู้เช่น โจทย์ปัญหา สถานการณ์ ประเด็น โดยคุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้จากการให้เหตุผลของลูกๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะยกตัวอย่างเรื่องที่เขากำลังจะเรียน และให้เขาลองให้เหตุผลซึ่งเช็คได้จากเช็คระดับความเข้าใจด้านล่างนี้ค่ะ
เช็คระดับความเข้าใจด้วย Solo Taxonomy 5 ขั้นตอน
Prestructural (โครงสร้างพื้นฐาน) : ลูกๆไม่เข้าใจประเด็นที่เขากำลังเรียนรู้
Unistructural (เข้าใจมุมเดียว): สามารถให้เหตุผลได้แค่เพียงมุมเดียว
Multistructural (หลายมุมมอง): ให้หลายผลได้หลายมุมมอง
Relational (เห็นความสัมพันธ์) : เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแง่มุมได้ทุกมิติ สามารถมองเห็นเป็นภาพรวมได้
Extended abstract (ขยายความจากนามธรรม) : สร้างสมมุติฐานใหม่ได้สะท้อนให้เห็นมุมมองต่อเรื่องนั้นๆได้
ตัวอย่างการเช็คระดับความเข้าใจของลูกๆ ผ่าน Solo Taxonoy
กรณีอย่างเช่นน้องๆเรียน coding มา คุณพ่อคุณแม่อาจจะยกตัวอย่างสถานการณ์ เช่น "coding คืออะไร” โดยแบ่งระดับความเข้าใจออกเป็น 5 ขั้นตามด้านล่าง
เมื่อได้ระดับของความเข้าใจแบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ลองใช้ solo taxonomy นี้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ลูกๆสามารถจัดลำดับความเข้าใจของตนเองได้ โดยที่หลังจากลูกๆให้เหตุผลเสร็จคุณพ่อคุณแม่อาจจะชวนน้องไปเช็คคำตอบที่ให้เหตุผลมาแล้วลองแบ่งกลุ่มจัดหมวดหมู่ความเข้าใจของตัวเองเพื่อพัฒนาทักษะที่น้องมีต่อไปได้ค่ะ
สนใจสมัครเรียนหรือขอคำปรึกษา ติดต่อเราได้ที่
Facebook Inbox
โทร: 09-9414-9777
Line: @beyondcode (https://lin.ee/yYW32sz)
อ้างอิง
Commentaires